พระอุโบถ
ประวัติวัดบูรพาราม
วัดบูรพาราม ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองสุรินทร์
หากถือเอาคูเมืองและกำแพงเมืองโบราณเป็นบรรทัดฐาน ก็จะมองเห็นที่ตั้งของวัดสำคัญๆ
ในเมืองสุรินทร์ได้ดังนี้ขณะที่วัดจุมพลสุทธาวาส วัดพรหมสุรินทร์ วัดหนองบัว
วัดจำปา และวัดศาลาลอย ถือได้ว่าเป็นวัดนอกตัวเมือง ตั้งอยู่ติดกับคูเมืองด้านนอก
เรียงรายรอบตัวเมืองสำหรับวัดบูรพาราม กับวัดกลาง ๒ วัดนี้
ถือได้ว่าเป็นวัดที่อยู่ภายในกำแพงชั้นใน คือ อยู่ในใจกลางเมืองสุรินทร์วัดบูรพาราม
เป็นวัดเก่าแก่เกิดขึ้นมาพร้อมกับตัวเมืองสุรินทร์ ตั้งแต่ครั้งยังเรียกว่า เมืองประทายสมันต์ หรือ เมืองไผทสมันต์ นั่นเทียวสันนิษฐานว่าวัดบูรพาราม
สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ปี เท่าๆ
กับอายุของเมืองสุรินทร์ตามตำนานของเมืองสุรินทร์เล่าขานกันมาว่า เมื่อ พระยาสุรินทร์ภักดี ศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม)
ได้ตำแหน่ง จางวางเมืองประทายสมันต์ ก็เริ่มทำนุบำรุงบ้านเมือง ด้วยการ "ฝึกฟื้นใจเมือง" ตามธรรมเนียมการพัฒนาบ้านเมืองของไทยที่นิยมสืบทอดกันมาแต่โบราณคือ ส่งเสริมการพระศาสนาให้เจริญ ควบคู่กับการบำรุง "กายเมือง" หรือพัฒนาด้านวัตถุให้เจริญควบคู่ไปด้วยกันวัดบูรพาราม ได้รับการปลูกสร้างขึ้นที่ใจกลางเมืองพอดี
จึงเป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองชั้นในเนื่องจากวัดแห่งนี้สร้างขึ้นมานาน
สภาพจึงชำรุดทรุดโทรม ทางคณะสงฆ์มณฑลนครราชสีมา มีความประสงค์ที่จะบูรณะขึ้นใหม่
และสถาปนาเป็น วัดธรรมยุตแห่งแรกในจังหวัดสุรินทร์ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖เมื่อหลวงปู่ดูลย์ ได้รับบัญชาจากท่านเจ้าคณะมณฑล
ให้มาดูแลบูรณะวัดบูรพาราม ท่านจึงรับภาระนี้ด้วยความเต็มใจหลวงปู่ดูลย์จึงงดกิจด้านออกธุดงค์
และพำนักประจำที่วัดบูรพารามนี้ ติดต่อกันตลอดมาตราบเท่าถึงวันมรณภาพของท่าน
ซึ่งท่านอยู่ประจำที่วัดแห่งนี้ รวมเวลาทั้งสิ้น ๕๐ ปี
ผู้จัดทำ 1. นางสาวกัลยา อินทร์ตา รหัส 53125460302
2. นางสาวเด่นนภา แก่นเมือง รหัส 53125460326
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ห้อง 3
พระประธานในพระอุโบสถวัดบูรพาราม
วัดบูรพาราม ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520
สถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระชีว์
1. เป็นสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระชีว์
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก หลวงพ่อพระชีว์หรือหลวงพ่อประจีองค์นี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด
คาดว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดบูรพาราม นับเป็นปูชนียวัตถ6ชาวสุรินทร์เคารพบูชา
ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูง สุดของเมืองสุรินทร์
2.พระราชวุฒาจารย์
(หลวงปู่ดุลย์ อตุโล) เคยประจำอยู่ ณ วัดบูรพาราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 จนกระทั่งมรณภาพ พ.ศ. 2526 ชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศ
ในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมสายพระกัมมัฏฐาน ทั้งพระภิกษุและฆราวาสให้การยอมรับว่า
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล เป็นองค์เดียวที่มีความรู้ลึกซึ้งในเรื่องของจิต
จนกระทั่งได้รับสมญาว่าเป็นบิดาแห่งภาวนาจิต ซึ่งหวัดสุรินทร์ ชาวสุรินทร์
และวัดบูรพาราม ได้จัดสร้างพิิพิธภัณฑ์หลวงปู่ดุลย์ไว้ให้ประชาชนได้เข้าชม
บริเวณข้างพระอุโบสถ ด้านทิศเหนือด้วย
พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ดุลย์
มองไปจากด้านนอกของหวัดจะเป็นหลังคาที่เป็นสถาปัตย์กรรมแปลกตา
ทันสมัย เหมือนหลังคาทรงไทยประยุกต์ นั่งรถผ่านก็มองด้วยความสงสัย
แต่ไม่ยอมเข้าไปดู มีระยะหลังที่เที่ยวบ่อยๆ นี่เองที่เริ่มได้เข้าไปชมเพิ่มเติมอีกเล้กน้อยครับ
สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่เกี่ยวกับหลวงปู่ดุลย์ คือ เจดีย์ที่สร้างขึ้น ณ
บริเวณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ดุลย์
ที่เขาสวาย
รูปหุ่นจำลองหลวงปู่ซึ่งอยู่ที่พิพิธพันธ์
ธรรมคำสอนที่ลึกซึ่งของหลวงปู่
ผู้จัดทำ 1. นางสาวกัลยา อินทร์ตา รหัส 53125460302
2. นางสาวเด่นนภา แก่นเมือง รหัส 53125460326
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ห้อง 3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น